2,500,000 - 10,000 ปีก่อน: ยุคหินเก่า ของ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในไทย

ยุคหินตอนต้น

เป็นยุคแรกสุดของยุคหินเก่าซึ่งเริ่มเมื่อราว 2.5 ล้านปีก่อน เมื่อมีหลักฐานที่บ่งบอกการใช้เครื่องมือเป็นครั้งแรกหินครั้งแรกโดยโฮมินิด จนสิ้นสุดลงราว 120,000 ปีก่อน เมื่อการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการและเทคโนโลยีที่สำคัญเริ่มต้นขึ้นในยุคหินเก่าตอนกลาง

สปีชีส์ในตอนต้น

ฟอสซิลมนุษย์ลำปางชี้ให้เห็นว่าเคยมีโฮโมอิเร็กตัสดำรงชีวิตอยู่ในช่วง 1,000,000 ถึง 500,000 ปีก่อน[1]

โฮโมอิเรกตัสอพยพจากแอฟริกามายังเอเชียเมื่อประมาณ 1,000,000 ปีก่อน การใช้ไฟเป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาตัวรอดของนักหาของป่าล่าสัตว์ กะโหลกศีรษะของโฮโมอิเรกตัสมีขนาดเล็กและหนากว่าเมื่อเทียบกับมนุษย์สมัยใหม่ พวกเขาอาศัยอยู่ตามปากถ้ำใกล้แหล่งน้ำ ศัตรูตามธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ไฮยีนายักษ์ Hyaena sinesis เสือเขี้ยวดาบ อุรังอุตัง และ แพนด้ายักษ์[ต้องการอ้างอิง][โปรดขยายความ]

ในปี พ.ศ. 2542 สมศักดิ์ ประมาณกิจอ้างว่าพบชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะของ โฮโมอีเรกตัสที่เกาะคาจังหวัดลำปาง แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่าการค้นพบเหล่านี้น่าเชื่อถือก็ตาม [2] ฟอสซิลกะโหลกนี้เทียบได้กับฟอสซิลกะโหลกศีรษะของมนุษย์ Sangiran II ที่พบในเกาะชวา(มนุษย์ชวา) ซึ่งมีอายุ 400,000 - 800,000 ปี เช่นเดียวกับมนุษย์ปักกิ่ง[ ต้องการอ้างอิง ] นอกจากนี้ก็ยังมีการค้นพบเครื่องมือหินที่มีอายุราว 40,000 ปีถูกค้นพบที่เพิงผาถ้ำลอดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ความเกี่ยวข้องกับคนไทยสมัยใหม่

หลักฐานทางพันธุกรรมยืนยันว่าคนไทยในปัจจุบันไม่ได้สืบสายเลือดต่อมาจากมนุษย์ลำปาง นอกจากนี้นักพันธุศาสตร์ก็ยังได้พิสูจน์อีกว่าไม่มีการผสมข้ามระหว่างโฮโมอิเรกตัสกับมนุษย์ยุคใหม่ที่อพยพมายังเอเชียอาคเนย์ [3] ซึ่งสอดคล้องกับ "ทฤษฎีกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็วๆ นี้จากแอฟริกา" (Recent African origin of modern humans) ที่ระบุว่ามนุษย์สมัยใหม่รวมถึงคนไทยสืบเชื้อสายมาจากแอฟริกา[4]

ใกล้เคียง

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในไทย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในมาเลเซีย ยุคก่อนโรมาเนสก์ ยุคกลางตอนต้น ยุคกลาง ยุคกรีกโบราณ ยุคกลางตอนปลาย ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ ยุคการอพยพ